เมืองเศรษฐกิจใหม่..

By Mallika Pupa Kolsolsak

เมืองเศรษฐกิจใหม่ ??  ที่รองรับการเติบโตของประเทศในอนาคต…ควรให้ความสำคัญเพิ่มมากยิ่งขึ้นเมื่อกล่าวถึงเรื่องของปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพฯ ที่ผ่านมา ส่งผลต่อแนวคิดของการย้ายเมืองหลวงให้กลับมามีบทบาทสำคัญเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ง โดยแนวคิดนี้ได้เกิดขึ้นมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว ซึ่งเหตุผลของการย้ายเมืองหลวงแต่ละยุคสมัยก็มีแตกต่างกันไป

การย้ายเมืองสมัยอดีตโบราณ :  มีสาเหตุมาจากทั้งปัญหาโรคระบาด ปัญหาภัยพิบัติ การถูกรุกรานจากอาณานิคมและปัญหาเรื่องทำเลที่ตั้ง เช่น เมืองลำพูน เกิดโรคระบาด เวียงกุมกาม (จ.เชียงใหม่) เกิดน้ำท่วมอยู่ทุกปี สุโขทัย ถูกแทรกแซงจากอยุธยา อยุธยา ถูกพม่าโจมตีเผาทำลายจนย่อยยับ กรุงธนบุรี ทำเลที่ตั้งไม่ดี มีแม่น้ำไหลผ่านกลาง  ข้าศึกเข้าถึงกลางเมืองง่าย  สองฝั่งเมืองติดต่อกันลำบาก  อีกทั้งตั้งอยู่ริมตลิ่ง  น้ำจะเซาะตลิ่งพัง และถูกขนาบด้วยวัดทั้งสองข้างขยายไม่ได้ (1)

พอถึงยุคของกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวง แนวคิดการย้ายเมืองหลวงก็เกิดขึ้นอีกเช่นกัน


ที่มา : http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322543369&grpid=01&catid=01

ได้มีคนให้แนวคิดไว้มากมายที่จะย้ายเมืองหลวงออกจากกรุงเทพฯ ไปที่ต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ให้เหตุผลว่าเกิดขึ้นจากการที่กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ในทำเลที่ไม่ดี ไม่ปลอดภัย จึงต้องเกิดความจำเป็นที่จะต้องมีการโยกย้ายเมืองหลวงใหม่เกิดขึ้น โดยการให้เหตุผลของแต่ละจังหวัดที่ต้องการให้เป็นเมืองหลวงใหม่แทน มีดังนี้

พชรบูรณ์ ระหว่างสงคราม โลกครั้งที่ 2 และสงครามมหาเอเชียบูรพา กรุงเทพฯถูกโจมตี จนประชาชนต้อง อพยพออกต่างจังหวัด จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี และผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น จึงมีดำริที่จะย้ายเมืองหลวงไปอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัยกว่า ซึ่งเพชรบูรณ์มีภูมิประเทศเป็นป่าทึบและเขาสูง (2)

นครนายก  ครั้งแรกสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ  เนื่องจากเป็นพื้นที่สูง ปลอดภัยจากน้ำท่วม มีอาณาเขตหลายหมื่นไร่เป็นกรรมสิทธิ์ของทหารและหน่วยงานราชการ จึงไม่ยากต่อการขอ (3) อีกทั้งเป็นพื้นที่ลาดชัน หากน้ำท่วมก็จะไหลระบายได้เร็ว เป็นพื้นที่ที่สามารถเชื่อมไปยังภาคอื่นๆ โดยเฉพาะภาคอีสาน สามารถทำเส้นทางรถไฟให้มาที่สนามบินสุวรรณภูมิได้ เพราะห่างกันเพียงแค่ 40 กิโลเมตรเท่านั้น (4)

นครราชสีมา เหตุผลด้านที่ตั้งปลอดภัยจากภัยธรรมชาติทั้งน้ำท่วมและแผ่นดินไหว และตั้งอยู่ใจกลางของประเทศ โดยดร.อาจอง ชุมสายให้ความเห็นว่า ภาคอีสานอยู่เหนือระดับน้ำทะเลมากกว่า 100เมตรขึ้นไปและไม่มีรอยต่อเปลือกโลก ปลอดภัยจากพายุรุนแรงทางมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีเวียดนาม เขมร ลาว เป็นกำบังพายุใต้ฝุ่นให้กับเรา (5)

ระยอง /ชลบุรี เสนอแนะโดย อ.ศรีศักร วัลลิโภดม เหตุผลเพราะน้ำท่วมไม่ถึง ส่วนกรุงเทพฯ ก็ปล่อยให้เป็นเมืองท่าใหญ่ และเมืองประวัติศาสตร์ไป แล้วก็ใช้สนามบินสุวรรณภูมิ หน่วยงานราชการก็ยังอยู่กรุงเทพฯ ได้ แต่เคลียร์พื้นที่เศรษฐกิจออกไป (6)

แต่ในทางกลับกันการย้ายเมืองหลวงก็ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป

…….

จึงเกิดแนวคิดเมืองบริวารขึ้น รศ.ดร.ธนวัฒน์ นักวิชาการหน่วยศึกษาพิบัติภัยและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้แนวคิดของการแก้ไขโดยไม่ต้องย้ายกรุงเทพฯ คือ การบีบเมืองหลวงไม่ให้โต แต่ไปโตที่เมืองบริวาร ที่อยู่ห่างจาก กทม.ประมาณ 100 ก.ม. มีด้วยกัน 4 เมือง คือ สุพรรณบุรี สระบุรี ฉะเชิงเทรา และราชบุรี แล้วใช้รถไฟความเร็วสูง 200 ก.ม. / ช.ม. สำหรับคนที่อยู่เมืองบริวารใช้โดยสารเวลามาทำงานในกรุงเทพฯ โดยใช้เวลาเพียง 30 นาที อีกทั้งศูนย์อำนาจยังได้กระจายออกไปอีกด้วย (7)

“….ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการที่กรุงเทพฯ มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภัยพิบัติน้ำท่วมรุนแรงขึ้นอีก แนวคิดการย้ายเมืองหลวงหรือแนวคิดเมืองบริวารจึงเป็นสิ่งที่ควรนำมาทบทวน พิจารณาและไตร่ตรองเพิ่มมากยิ่งขึ้น รัฐบาลควรต้องมองและคาดการณ์อนาคต เพื่อวางแผนและเตรียมตัวให้ถูกทาง ซึ่งหากว่าการย้ายเมืองหลวงหรือการเกิดเมืองบริวารขึ้นนั้นเป็นสิ่งที่เห็นว่าสมควรแล้ว รัฐบาลควรที่จะต้องมีการผลักดันและคำนึงถึงจังหวัดที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่…”  

โดยรัฐบาลต้องช่วยผลักดัน “เน้นเมืองที่เป็นเศรษฐกิจใหม่” เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ทดแทนกรุงเทพฯ ที่ในอนาคตยังมีความสุ่มเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม โดยรัฐบาลควรเร่งจัดสรรงบ วางผังเมืองใหม่ให้กับจังหวัดนั้นๆ เพื่อแบ่งโซนการใช้ประโยชน์ที่ดินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโซนอุตสาหกรรม เกษตรกรรม พาณิชยกรรม ที่อยู่อาศัยให้ชัดเจน วางระบบโลจิสติกส์ที่ดี ให้มีความเหมาะสมที่จะเป็นเมืองเศรษฐกิจใหม่ ที่รองรับการเติบโตของประเทศในอนาคตได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง

(1)     http://blogazine.in.th/blogs/thanormrak/post/3333

(2)     http://www.komchadluek.net/detail/20111121/115578/%E0%B8%A2%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87.html)

(3)     http://www.greenworld.or.th/columnist/situation/1534

(4)     http://news.mthai.com/hot-news/141460.html

(5)     http://board.palungjit.com/f178/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88-%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-244988.htmlและ http://www.youtube.com/watch?v=pk9PrP3cdzI&feature=player_embedded

(6)     http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1322543369&grpid=01&catid&subcatid และรศ.ศรีศักร วัลลิโภดม, รายการที่นี่ TPBS, วันที่ 1 ธ.ค. 2554

(7)     ใน “ย้าย ไม่ย้ายเมืองหลวง”หน้า 16,มติชนรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2554